หนังสือพิมพ์

ปี พ.ศ. 2562 เป็นอีกปีที่สื่อสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก ทั้งความท้าทายในเรื่องของรายได้ ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ และรายได้จากโฆษณาที่หดตัวลง รวมทั้งพฤติกรรมการอ่านข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ท่ามกลางบทบาทที่สูงขึ้นของสื่อออนไลน์และการแข่งขันที่เข้มข้นของโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้หนังสือพิมพ์ต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง

การปรับตัวของหนังสือพิมพ์ในไทย นอกจากจะปรับลดยอดการตีพิมพ์ลงเพื่อลดต้นทุนแล้ว ยังมีทั้งการเพิ่มช่องทางออนไลน์เพื่อนำเสนอข่าวสารข้อมูล และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์ผ่านสื่อออนไลน์ ตลอดจนการจัดกิจกรรม เช่น งานสัมนา เพื่อหารายได้เพิ่มเติมทดแทนรายได้จากโฆษณาที่ลดลง


หนังสือพิมพ์ที่มียอดการตีพิมพ์สูงสุด ปี พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2562

ยอดการตีพิมพ์ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่บ่งบอกถึงทิศทางของธุรกิจหนังสือพิมพ์ ซึ่งจากผลการสำรวจยอดการตีพิมพ์ สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ที่มีทั้งคงปริมาณการตีพิมพ์ไว้และปรับลดยอดการตีพิมพ์ลง โดยในปี 2562 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ได้ปรับลดยอดการตีพิมพ์ลงเหลือ 800,000 ฉบับ จากยอดการตีพิมพ์ในปี 2561 ที่ 810,000 ล้านฉบับ เช่นเดียวกับ เดลินิวส์ ที่ปรับลดยอดตีพิมพ์จาก 810,000 ฉบับในปี 2561 เหลือ 720,000 ฉบับในปี2562 นับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคอ่านข้อมูลข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่หนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ ยังคงยอดตีพิมพ์ไว้เท่าเดิม  เช่น ไทยโพสต์ ข่าวสด และมติชน ซึ่งตีพิมพ์อยู่ที่ 950,000 ฉบับ ส่วนหนังสือพิมพ์แนวหน้า และสยามรัฐ ตีพิมพ์อยู่ที่ 900,000 ฉบับ และผู้จัดการรายวัน 360 องศา และผู้จัดการสุดสัปดาห์ ตีพิมพ์ 850,000 ฉบับในปี 2562


มูลค่าสื่อโฆษณา

ไม่เพียงแต่ยอดการตีพิมพ์เท่านั้นที่ปรับตัวลง มูลค่าโฆษณาสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ก็ปรับตัวลงด้วยเช่นกัน นีลเส็น ประเทศไทย ได้เปิดเผยมูลค่าการใช้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ในเดือนตุลาคม 2562 พบว่า เม็ดเงินโฆษณาโดยรวมทุกสื่อ มีมูลค่ารวม 9,483 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.06% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมปี 2561 ที่มีมูลค่า 9,195 ล้านบาท ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ณ เดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ 352 ล้านบาท ลดลงอย่างมากถึง 33.58% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561

ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาช่วงเดือน มกราคม – ตุลาคม 2562 มีมูลค่ารวม 87,034 ล้านบาท ลดลง 0.62% เมื่อเทียบรายปี โดยเม็ดเงินโฆษณาในหนังสือพิมพ์ช่วงเดือนม.ค.-ต.ค. 2562 อยู่ที่ 3,893 ล้านบาท ลดลง 22.67% เมื่อเปรียบเทียบรายปี1


ผลประกอบการ

เม็ดเงินโฆษณาสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ที่ปรับตัวลง ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของผู้ผลิตหนังสือพิมพ์หลายฉบับ แม้ว่าสื่อหนังสือพิมพ์จะได้ใช้ความพยายามในการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว หนังสือพิมพ์บางฉบับมีกำไรลดลง แต่บางฉบับถึงขั้นขาดทุน

บริษัท สารสู่อนาคต จำกัด

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บริษัท ข่าวสด จำกัด

หนังสือพิมพ์ข่าวสด

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)

หนังสือพิมพ์มติชน มติชนสุดสัปดาห์ ประชาชาติธุรกิจ

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บริษัท เนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

หนังสือพิมพ์เนชั่น กรุงเทพธุรกิจ

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บริษัท สยามรัฐ จำกัด

หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บริษัท ผู้จัดการ 360 จำกัด

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 360

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บริษัท วัชรพล จำกัด

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน)

หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บริษัท หนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด

หนังสือพิมพ์แนวหน้า

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

จะเห็นได้ว่ารายได้ของผู้ผลิตหนังสือพิมพ์ชั้นนำของไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่ปี 2559 ขณะที่บริษัทชั้นนำหลายบริษัทถึงขั้นขาดทุน  


การปรับตัวของธุรกิจหนังสือพิมพ์

จากสถานการณ์รายได้ที่ลดลง จนทำให้ผู้ผลิตหนังสือพิมพ์หลายรายประกาศยุติการตีพิมพ์ และปรับเปลี่ยนช่องทางการรายงานสู่ออนไลน์ ผนวกกลยุทธ์ที่เข้มข้นกว่าเดิมเพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้อ่านที่เปลี่ยนไป จนถึงนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ


ยุติการตีพิมพ์ รุกสนามออนไลน์

หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น (THE NATION) หนึ่งในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชั้นนำของไทย ประกาศปิดฉากการผลิตหนังสือพิมพ์ที่ดำเนินการมายาวนานถึง 48 ปี ด้วยการยุติการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอข่าวมาสู่ช่องทางดิจิทัล และเพิ่มคอนเทนต์ภาษาจีน เป็นสื่อ 2 ภาษา (อังกฤษ-จีน) โดยตีพิมพ์เดอะ เนชัน ฉบับสุดท้ายเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 สำหรับสาเหตุของการยุติการตีพิมพ์นั้น นายสมชาย มีเสน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เดอะ เนชั่น ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพราะคนอ่านเดอะเนชั่นเป็นคนไทยแค่ 26% ที่เหลือคนอ่านมาจากต่างประเทศกว่า 70%  ซึ่งไม่ได้ซื้อหนังสือพิมพ์แต่เป็นการอ่านเนื้อหาออนไลน์แทน เราต้องยอมรับความจริงว่า เดอะเนชั่นขาดทุนมานับ 10 ปี ปีละ 30 ล้าน”2

ขณะเดียวกัน ด้วยปัญหาการขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน)ตัดสินใจยุติการพิมพ์หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ด้านธุรกิจ และหนังสือพิมพ์ M2F ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์แจกฟรี โดยโพสต์ทูเดย์จะปรับเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิทัลอย่างเต็มตัว จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้มีการเลิกจ้างพนักงานของหนังสือพิมพ์ทั้ง 2 ฉบับ ประมาณ 200 ราย3

ไทยรัฐ ดึงเทคโนโลยีเสริมศักยภาพ

นอกจากปรับตัวเข้าสู่โหมดออนไลน์แล้ว ไทยรัฐ ยังเสริมความแข็งแกร่งด้วยเทคโนโลยี  ด้วยการนำเทคโนโลยี AI และ Machine Learning (ML) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและพฤติกรรมของผู้ใช้งาน เพื่อให้สามารถนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม อีกทั้งยังนำเทคโนโลยี AI ของ Google cloud ที่ชื่อว่า Vision API และ Auto ML มาช่วยจัดระเบียบคลังข้อมูลและภาพทั้งหมดของเครือไทยรัฐ จากเดิมที่ต้องใช้บุคลากรและระยะเวลาในการทำงาน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กองบรรณาธิการ สามารถค้นหาภาพ ข่าว เนื้อหาและเอกสารต่าง ๆ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น4 จะเห็นได้ว่า แม้ว่าผู้ผลิตหนังสือพิมพ์จะปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์แล้วก็ตาม การปรับตัวอยู่ตลอดเวลาด้วยแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เนชั่น ชูธุรกิจด้วยบิ๊กดาต้า

หลังจากที่ได้มีการประกาศยุติการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น บริษัทได้ปรับแผนองค์กรใหม่ด้วยการชูกลยุทธ์ Brand-Content-Community เพื่อตอกย้ำความน่าเชื่อถึอและความหลากหลายของแบรนด์ และเตรียมต่อยอดในอนาคต ตลอดจนดึงบิ๊กดาต้าเขามาใช้ประโยชน์ เชื่อมต่อกับธุรกิจเสาหลัก 3 ธุรกิจ ประกอบด้วย ออฟไลน์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ซึ่งจะต้องรักษาความน่าเชื่อถือไว้ เพราะเป็นหัวใจของธุรกิจสื่อ ลำดับต่อมา คือ ออนไลน์ จะตอกย้ำข่าวที่มีข้อมูลความจริง ไม่ใช่ข่าวปลอมเพื่อรักษาความเป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือไว้ และออนกราวด์หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ 5

นายฉาย บุนาค ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เราจะมีการจัดเก็บ Data 360 องศา ที่เพียงพอต่อการวิเคราะห์และประมวลผลแบบเรียลไทม์เพื่อการเจาะสินค้าและบริการสู่กลุ่มเป้าหมายรายบุคคลได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ โดยทีม Business Intelligence ขององค์กรที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่” 6


อ้างอิง