แนวโน้มสื่อไทยปี 2565
บทสัมภาษณ์พิเศษแนวโน้มสื่อไทยปี 2565
จากมุมมองของนักวิชาการ นักการตลาด-ประชาสัมพันธ์ และสื่อมวลชน
Previous
Next
โควิด-19 ตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสื่อปี 64 ในไทย
รสนิยมการบริโภคข่าวสารของผู้บริโภคยุคปัจจุบันมีความต้องการรู้ลึก เจาะลึก และรับสารจากหลากหลายช่องทางมากขึ้น สำนักข่าวใดที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารได้ละเอียด มีความน่าเชื่อถือ จะดึงความสนใจจากผู้บริโภคยุคใหม่ได้มากกว่า
รองศาสตราจารย์พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช
อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สื่อไทยยุค “Narrowcasting” กับปีแห่งการตัดสินชะตาสื่อดั้งเดิม
ในฝั่งสื่อดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งเคยมีจุดเด่นด้านการ Broadcasting หากไม่ปรับตัวเข้าสู่รูปแบบ Narrowcasting โดยการสร้างฐานผู้ติดตามสื่อเป็นกลุ่มเฉพาะของตนเอง มีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่สามารถอยู่ต่อไปได้ในตลาดปัจจุบัน
ผศ. ดร.เอกก์ ภทรธนกุล
ผู้ช่วยอธิการบดี และหัวหน้าภาควิชาการตลาด
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปิดมุมมองการทำพีอาร์ยุค “Now Normal”
แม้ในยามวิกฤต แบรนด์ก็ต้องแสวงหาโอกาสที่จะทำให้คนจดจำแบรนด์ให้ได้ เมื่อผู้คนตกอยู่ในสภาวะเครียด แบรนด์ก็ควรทำคอนเทนต์สื่อสารออกมาในเชิงสบายอารมณ์ เพราะคนต้องการพื้นที่สำหรับผ่อนคลาย คอนเทนต์เหล่านี้ ถึงจะเข้าถึงผู้บริโภคบริโภคได้ง่าย
ขณพัทธ จินฎาสงวน
กรรมการผู้จัดการ Verve Public Relations Consultancy
สื่อจริงจังกับการทำคอนเทนต์ขึ้นแต่ละแพลตฟอร์มมากขึ้น
การใช้เฉพาะเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่ง ยังไม่เพียงพอที่จะเข้าถึงหรือมีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมายที่หากมองลึกลงไปจะไม่ได้หมายถึงแค่กลุ่มอายุ เพศ การศึกษา แต่จะรวมไปถึง Mindset ทัศนคติ และ Pain Point ของแต่ละกลุ่มด้วย
พรพรรณ ฉวีวรรณ
กรรมการผู้จัดการ CHOM PR
อินฟลูเอนเซอร์ "ผู้ส่งอิทธิพลทางความคิด"
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอันเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ทุกสาขาอาชีพ รวมถึงอินฟลูเอนเซอร์ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทำให้เกิดอินฟลูเอนเซอร์สายใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งในมุมหนึ่งนั้นถือว่าส่งผลดีต่อแบรนด์
สุวิตา จรัญวงศ์
ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เทลสกอร์ (Tellscore)
จับกระแสความท้าทายของสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย
ในปีหน้าสื่อเจ้าใหญ่ที่เป็นสื่อกระแสหลักจะเริ่มลงทุนและให้ความจริงจังกับสื่อออนไลน์มากขึ้น โดยทำด้วยหลักคิดของสื่อออนไลน์ที่ชัดเจน เพราะที่ผ่านมาหลักคิดเดิมสื่อเจ้าใหญ่หลายที่อาจจะแค่เอาบทความจากหนังสือพิมพ์มาลงในเว็บไซต์ หรือ เฟซบุ๊ก เท่านั้น แต่ในปีหน้าจะเริ่มใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อย่างจริงจังมากขึ้น
นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์
บรรณาธิการบริหาร WorkpointTODAY