Zero-Party Data กลยุทธ์ข้อมูลลูกค้าโดนใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

การเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ เพื่อให้แบรนด์สามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้เหมาะกับความต้องการลูกค้า ที่ผ่านมา ธุรกิจต่าง ๆ ติดตามและจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าที่เข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางเครื่องมือ Third-party cookies แต่ปัจจุบันมีการให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวมากขึ้น  

บรรดาธุรกิจและแบรนด์ต่าง ๆ จึงตื่นตัวและหาวิธีรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าแบบอื่นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า หนึ่งในข้อมูลที่ได้รับความสนใจและอาจจะเข้ามาแทนที่การเก็บข้อมูลแบบเดิม คือ “ข้อมูลจากลูกค้าโดยตรง” หรือ “Zero-Party Data” 

Zero-Party Data คืออะไร

Zero-Party Data คือ ข้อมูลส่วนตัวที่ลูกค้าเต็มใจมอบให้กับธุรกิจแต่ละรายโดยตรง โดยลูกค้าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการให้ข้อมูลของตนเอง เช่น การได้รับผลิตภัณฑ์หรือคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าเอง

เราสามารถจัดเก็บข้อมูล Zero-Party Data ได้หลายวิธี เช่น การทำแบบสำรวจ (Surveys), การทำแบบทดสอบ (Quiz) และการเก็บข้อมูลหลังการขาย (Transactional data) ไม่ว่าจะใช้วิธีใดในการรวบรวมข้อมูล ปัจจัยสำคัญที่สุดคือลูกค้าต้องมอบข้อมูลเหล่านั้นด้วยความเต็มใจโดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ และต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับประโยชน์จากการมอบข้อมูลให้กับแบรนด์

ธุรกิจได้ประโยชน์จาก Zero-Party Data อย่างไรบ้าง

ความน่าเชื่อถือ

เมื่อใดก็ตามที่ลูกค้าให้ข้อมูลส่วนตัวของตนเองด้วยความเต็มใจ ข้อมูลที่ลูกค้าแชร์มานี้มีแนวโน้มว่า จะเป็นข้อเท็จจริง ทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง, ความชอบ และพฤติกรรม โดยลูกค้าจะรู้สึกสบายใจเมื่อรู้ว่าข้อมูลจะถูกนำไปใช้อย่างไรและไม่จำเป็นต้องตอบข้อมูลไปแบบส่ง ๆ เพื่อแลกกับการเข้าถึงบริการ การใช้กลยุทธ์จากข้อมูล Zero-Party Data จะทำให้ธุรกิจตอบสนองความคาดหวังในเรื่องความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและทำให้ลูกค้าเชื่อถือแบรนด์มากยิ่งขึ้น

ข้อมูลที่ชัดเจน

การใช้กลยุทธ์ Zero-Party Data จะทำให้แบรนด์ได้ข้อมูลความชอบของลูกค้าแต่ละราย ในขณะที่ข้อมูลประเภทอื่น ๆ เช่น First-party data, Second-party data และ Third-party data จะเป็นข้อมูลการสันนิษฐานเกี่ยวกับความตั้งใจ ความชอบ และทัศนคติของลูกค้าจากพฤติกรรม ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อน

แม่นยำ

ข้อมูลที่ได้รับมาจากลูกค้าโดยตรงย่อมมีโอกาสต่ำที่จะคลาดเคลื่อน เนื่องจากไม่ได้ทำผ่านระบบต่าง ๆ หรือทำซ้ำ นอกจากนี้ ข้อมูลยังมีความสดใหม่

เข้าใจความต้องการลูกค้าแต่ละรายได้ดีขึ้น

เมื่อธุรกิจและลูกค้าเข้าใจตรงกันว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้งานอย่างไร ผลลัพธ์ที่จะได้มาจากข้อมูลจึงมีคุณภาพและมูลค่าสูง ทำให้การปรับแต่งประสบการณ์ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายง่ายขึ้น

วิธีการใช้ Zero-Party Data

จัดโปรโมชันและข้อเสนอที่เหมาะสม

เมื่อได้รับข้อมูลมาแล้ว ธุรกิจย่อมทราบพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของลูกค้าแต่ละราย เช่น เมื่อธุรกิจได้ข้อมูลมาว่าลูกค้าบางรายชื่นชอบเทศกาลลดราคาสินค้าฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อนก็สามารถส่งข้อเสนอและโปรโมชันไปให้ นับเป็นการนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการในเวลาที่เหมาะสม

สร้างคอนเทนต์ให้ตรงใจ

ผลิตคอนเทนต์ที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์สนใจ เช่น เคล็ดลับการจัดทำงบประมาณและการออมเงิน ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ประเภทบทความ, อินโฟกราฟิก หรือการสัมมนาผ่านช่องทางออนไลน์

การผลิตคอนเทนต์เช่นนี้นอกจากจะทำให้แบรนด์ของเราอยู่ในสถานะที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือแล้ว ยังมีโอกาสที่คอนเทนต์จะถูกแชร์ไปในโลกออนไลน์ ซึ่งจะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น

ยกระดับบริการลูกค้า

เราสามารถปรับแต่งการบริการลูกค้าโดยอิงจากข้อมูลที่ได้รับมาจากลูกค้าโดยตรง เช่น ส่งจดหมายข่าวรายเดือนแทนที่จะเป็นรายสัปดาห์ตามความต้องการของลูกค้า หรือส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือแทนอีเมล

ปรับปรุงผลิตภัณฑ์

 เมื่อได้รับข้อมูล Zero-Party Data มาแล้ว เราสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างถูกต้อง เช่น การทำบรรจุภัณฑ์กันน้ำหรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฯ

กลยุทธ์การใช้ข้อมูล Zero-Party Data ไม่เพียงสอดคล้องกับยุคสมัยที่ความเป็นส่วนตัวของลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ยังทำให้ธุรกิจได้ข้อมูลที่แม่นยำขึ้นเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Author picture

By Rada Sirisaipirun , Sunita Phanraksa

ข่าวล่าสุด

ทำความรู้จัก “UGC” จะดีแค่ไหนถ้า “ลูกค้า” โฆษณากันเอง

UGC หรือ User-Generated Content คือ คอนเทนต์ทุกรูปแบบที่ผู้บริโภคเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง และยังมีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไม่ว่าจะคอนเทนต์นั้น ๆ จะปรากฎออกมาในรูปรูปแบบของข้อความบนโซเชียลมีเดีย…

Read More »

เปิดมุมมอง 7 กูรู ดูโอกาสและอุปสรรคสื่อไทยปี 2568

สื่อไทยยังคงมีโอกาสเติบโตท่ามกลางการแข่งขันกับกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ กุญแจสู่ความสำเร็จคือการปรับการผลิตคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและอัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม ซึ่งจะนำไปสู่โมเดลธุ…

Read More »

กลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ปัง! กับ 3 ผู้เชี่ยวชาญวงการเล่าเรื่องแบรนด์

การสร้างคอนเทนต์ที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการรักษาสมดุลระหว่างองค์ประกอบสามด้าน ได้แก่ ผู้ชม แบรนด์ และผู้สร้างคอนเทนต์โดยต้องค้นหาจุดร่วม (Common Value)

Read More »

5 วิธีปรับใช้ Micro-Content สำหรับแบรนด์

Micro-Content เป็นกลยุทธ์การทำคอนเทนต์แบบสั้น โดยย่อยประเด็นออกมาให้กระชับ เข้าใจง่าย เพื่อดึงความสนใจจากลูกค้าบนโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียในช่วงสั้น ๆ เหมาะกับการนำมาใช้ในแคมเปญการตลาด

Read More »

กลยุทธ์ทำ SEO วิดีโอ ให้ติดอันดับ Google ปี 2024

ทราฟฟิกบนอินเทอร์เน็ตกว่า 80% มาจากคอนเทนต์วิดีโอ ทำให้การทำ SEO สำหรับวิดีโอกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในปัจจุบัน

Read More »

อนาคตวงการครีเอเตอร์ไทยในปี 2035: บทวิเคราะห์จากงานวิจัย FORESIGHT STUDY

ผลการศึกษาของ Tellscore และ FutureTales LAB by MQDC ในงาน THAILAND INFLUENCER AWARDS เผยภาพอนาคตวงการครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ไทยใน 6 มิติสำคัญ

Read More »