10.10 วันสุขภาพจิตโลก เปิดใจชาวเน็ต 61% ชอบระบายบนโซเชียล

10.10 ไม่ใช่แค่วันชอปปิง แต่เป็น "วันสุขภาพจิตโลก" ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของคนไทยล่าสุด เผยภาพรวมสถานการณ์สุขภาพจิตในสังคมไทยที่น่าสนใจ ในยุคปัจจุบันที่สังคมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันอย่างรวดเร็ว สุขภาพจิตได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกคนควรตระหนักและให้ความสนใจมากขึ้น

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่า ในปี 2566 มีผู้ป่วยจิตเวชมารับบริการถึง 2.9 ล้านคนในประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของปัญหาสุขภาพจิต สาเหตุหนึ่งมาจากการที่สังคมไทยเริ่มเปิดใจยอมรับและเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตมากขึ้น

จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของคนไทยระหว่างวันที่ 1 กันยายน – 4 ตุลาคม 2567 โดยใช้เครื่องมือ DXT360 ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด พบว่า 61% ของผู้ใช้โซเชียลมีเดียใช้เป็นพื้นที่ระบายความรู้สึกและแสดงตัวตน ขณะที่ 22% ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต นอกจากนี้ 11% ใช้เพื่อให้ข้อมูลและคำแนะนำ และ 6% ใช้เพื่อให้กำลังใจผู้อื่น

ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตมากที่สุดคือปัญหาจากการทำงาน (30%) โดยเฉพาะการขาดสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน รองลงมาคือการรับรู้ข้อมูล หรือเสพสื่อมากเกินไป (18%) ปัญหาด้านการเรียน/การศึกษา ของผู้ที่อยู่ในวัยเรียน (14%) ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาขัดแย้งในครอบครัว (11%) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (10%) ปัญหาการดำเนินชีวิต (9%) ปัญหาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ (7%) และการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ (1%)

ส่วนปัจจัยภายในที่ส่งผลมากที่สุดคือปัญหาด้านสุขภาพกาย (42%) การเห็นคุณค่าในตนเอง (28%) ความคาดหวังในตนเอง (23%) และ ภูมิหลัง/ประสบการณ์ฝังใจ (7%)

สำหรับวิธีการฟื้นฟูสุขภาพจิตที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือการดูแลสุขภาพร่างกายและใส่ใจสุขภาพจิต (43%) รวมถึงการเปิดใจรับการปรึกษากับจิตแพทย์และรับการรักษาโดยใช้ยา รองลงมาคือการเลือกรับสื่อบันเทิง (22%) การทำ Social Detox (14%) การระบายความรู้สึก (9%) การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม (8%) และการใช้ Pet Therapy ใช้สัตว์เลี้่ยงช่วยฟื้นฟูจิตใจ (4%)

ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิตมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพจิตมีแนวโน้มเติบโต ทั้งโรงพยาบาล คลินิกจิตเวช และศูนย์เวลเนสต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดอคติทางสังคม ทำให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัยในการเข้าถึงการรักษาและการสนับสนุนทางจิตใจมากขึ้น

10 ตุลาคม วันสุขภาพจิตโลก

วันที่ 10 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) ประกาศครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2535 โดยสหพันธ์สุขภาพจิตโลก เพื่อให้ทุกคนได้เห็นความสำคัญของสุขภาพจิต เพราะ “สุขภาพจิต” นับ “สิทธิขั้นพื้นฐาน” ที่คนทุกคนควรได้รับการดูแล แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถเข้าถึงบริการและความช่วยเหลือได้ เพราะบางคนกว่าจะรู้ตัวว่าต้องการความช่วยเหลือก็สายเกินไปเสียแล้ว (อ้างอิงข้อมูลจาก: เว็บไซต์ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7)

ข่าวเกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตั้งสติ! วิธีรับมือแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อก

“อาฟเตอร์ช็อกล่าสุด” กำลังเป็นคำค้นหาที่ได้รับความนิยมใน Google Trends ในประเทศไทยวันนี้ เนื่องจากหลังเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ที่เมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกหลายครั…

Read More »

รู้จัก “กี้กี้” ไวรัลในสภาฯ ที่ทำโซเชียลแตก!

คำพูดสั้นๆ กลายเป็นประเด็นร้อนแรงบนโลกออนไลน์ หลัง ส.ส.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคประชาชน เอ่ยถึง “กี้กี้” ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ท่ามกลางเสียงประท้วงจาก…

Read More »

เอ็กซ์ล่ม แต่ #ทวิตล่ม ติดเทรนด์! ส่องพฤติกรรมผู้ใช้

เมื่อคืนที่ผ่านมา ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มเอ็กซ์ (Twitter) ทั่วโลก รวมถึงในไทย พบปัญหา โหลดฟีดไม่ขึ้น โพสต์ไม่ได้ และใช้งานติดขัดเป็นระยะ แต่ที่น่าสนใจคือ แม้แพลตฟอร์มจะล่ม แฮชแท็ก #ทวิตล่ม กลับติดเทรนด์…

Read More »

#saveพิรงรอง พุ่งติดเทรนด์ โซเชียลป้อง! โดนคดีเพราะทำหน้าที่ ?

แฮชแท็ก #saveพิรงรอง #freeกสทช กำลังเป็นกระแสร้อนแรงบนโซเชียลมีเดียวันนี้ หลังศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาตัดสิน น.ส.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ มีความผิดตามมาตรา…

Read More »

เจ็บป่วยตอนเที่ยวญี่ปุ่น ทำไง? โซเชียลยกเคส “ต้าเอส”

ข่าวการจากไปของ “ต้าเอส” สวีซีหยวน นักแสดงสาวชื่อดังจากบท “ซันไช่” ซีรีส์ F4 เวอร์ชั่นไต้หวัน สร้างความสะเทือนใจให้กับแฟนๆ ทั่วเอเชีย โดยเฉพาะในไทยที่มีแฟนคลับจำนวนมาก สาเหตุการเสียชีวิตที…

Read More »

วิกฤตฝุ่น PM2.5 ทำเดือดร้อนทั่วไทย ติดเทรนด์โซเชียล

สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยมีความรุนแรงหนักขึ้น ทำให้เช้าวันนี้ (24 ม.ค. 68) #ฝุ่นPM25 พุ่งทะยานขึ้นอันดับ 1 เทรนด์บน X (Twitter) โดยชาวเน็ตแห่โพสต์และแชร์ภาพฟ้าหม่น ค่าฝุ่นในแต่ละพื้นที่…

Read More »