แอปเปิลสายพันธุ์ฝรั่งเศสจากการผลิตแบบยั่งยืน พร้อมเสิร์ฟความอร่อยให้คนไทย!

INTERFEL (องค์กรส่งเสริมสินค้าผักสดและผลไม้จากฝรั่งเศส) ได้กลับมาที่ประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อแนะนำแอปเปิลจากการผลิตแบบยั่งยืนหลากหลายสายพันธุ์ในฝรั่งเศส ให้เหล่าคนรักผลไม้ในไทยได้ลิ้มลอง

ฝรั่งเศสมีแอปเปิลมากกว่า 100 สายพันธุ์ อันเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่มีลักษณะเฉพาะและดินที่อุดมสมบูรณ์

เมื่อไม่นานมานี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ส่งผลกระทบต่อการเกษตรทั่วโลก โดยเฉพาะการปลูกผลไม้ แม้ว่าจะเผชิญกับสภาวะอากาศที่ท้าทายในปี 2566 การผลิตแอปเปิลของยุโรปคาดว่าจะลดลงเหลือเพียง 10.2 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปีก่อนถึง 1.3 ล้านตัน เนื่องจากสภาวะน้ำค้างแข็งในยุโรปตะวันออก แต่สำหรับฝรั่งเศส การผลิตแอปเปิลในปี 2567 ยังคงมีเสถียรภาพ โดยคาดว่าจะผลิตได้ 1.463 ล้านตัน ลดลงเล็กน้อยจากปี 2566 แต่เพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงการฟื้นตัวของการปลูกแอปเปิลในฝรั่งเศส

แนวโน้มของการผลิตแอปเปิลแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกัน โดยสายพันธุ์จากประเทศอื่น ๆ เช่น Granny Smith และ Fuji คาดว่าจะลดลง 26-27% แต่สายพันธุ์แบบคลับและสายพันธุ์ท้องถิ่นยังคงมีเสถียรภาพ ตัวอย่างเช่น Pink Lady ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของฝรั่งเศส คาดว่าจะมีผลผลิต 164,000 ตัน ลดลงเพียง 5% ในขณะที่ผลผลิตของสายพันธุ์ Jazz คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 16% และ Chantecler รวมถึงสายพันธุ์ใหม่ๆ ก็ยังคงเติบโตเช่นกัน

ส่องแนวทางการปลูกแอปเปิลแบบยั่งยืนของฝรั่งเศส

นับเป็นเวลากว่า 25 ปีแล้วที่เกษตรกรผู้ปลูกแอปเปิลในฝรั่งเศสได้นำนวัตกรรมและมาตรการต่าง ๆ มาปรับใช้เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชแบบยั่งยืน เช่น ระบบวิเคราะห์น้ำในดิน (Precision Irrigation) การจัดการดิน และการควบคุมศัตรูพืชด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ต้นไม้เติบโตอย่างแข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งวิธีเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับการผลิตแอปเปิลคุณภาพสูงอีกด้วย แอปเปิลแต่ละลูกจึงไม่เพียงแต่อร่อยเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงความมุ่งมั่นนี้

เพื่อนำเสนอความเป็นเอกลักษณ์และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม INTERFEL ได้จัดงานอีเว้นท์เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่ Lenotre Culinary Arts School Thailand โดยมีเชฟชื่อดังจากฝรั่งเศส David BONET: Patisserie Chef และ Pierre SAUC?S: Boulangerie Chef ร่วมกันรังสรรค์เมนูแสนอร่อยจากแอปเปิลฝรั่งเศส

ภายในงานแขกผู้มีเกียรติยังได้สัมผัสประสบการณ์อันน่าประทับใจผ่านการเวิร์คช็อปและสาธิตการทำเมนูสุดพิเศษด้วยแอปเปิลจากฝรั่งเศส อันได้แก่ เมนู The Red Ballerina รสชาติเปรี้ยวอมหวานสุดอร่อยและ เมนู Apple Puff อบสดๆ ร้อนๆ จากเตาส่งกลิ่นหอมน่ารับประทานอีกด้วย

แอปเปิลฝรั่งเศสจะออกสู่ตลาดในไม่ช้านี้ และสามารถหาซื้อได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในประเทศไทย โดย INTERFEL จะจัดกิจกรรมสนุก ๆ ให้กับผู้บริโภคในร้านค้าปลีก เช่น การชิมแอปเปิล การเล่นเกมอินเตอร์แอคทีฟ และกิจกรรมโรดโชว์ต่างๆ เพื่อเชิญชวนทุกคนมาสัมผัสกับเสน่ห์ของแอปเปิลฝรั่งเศส

วันนี้เกษตรกรชาวฝรั่งเศสมากกว่า 1,300 ราย มุ่งมั่นที่จะผลิตแอปเปิลที่มีคุณภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หากท่านใดที่ต้องการค้นหาเมนูอร่อย ๆ และข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอปเปิลฝรั่งเศส สามารถติดตามได้ทางโซเชียลมีเดีย @FruitVegFromFR เพื่อรับทราบข้อมูลและกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ตลอดจนได้ลิ้มลองกับของอร่อยและมีประโยชน์ ส่งตรงจากประเทศฝรั่งเศสมาให้คุณถึงที่!

เกี่ยวกับ INTERFEL

INTERFEL (the Fresh Fruits and Vegetables Interprofession) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2519 เป็นองค์กรที่ส่งเสริมทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมผลไม้และผักสด ตั้งแต่เรื่องการผลิต ความร่วมมือ การขนส่ง การนำเข้า การส่งออก การค้าส่ง การจัดจำหน่าย ไปจนถึงการจัดเลี้ยงสำหรับกลุ่มคนจำนวนมาก ในฐานะองค์กรกฎหมายเอกชน INTERFEL ได้รับการยอมรับให้เป็นสมาคมสหวิชาชีพเกษตรแห่งชาติ ตามกฎหมายชนบทของฝรั่งเศสและสหภาพยุโรป ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ภายใต้กรอบการทำงานของ Single Common Market Organization หรือ OCM และยังมีสมาชิกขององค์กร INTERFEL 15 รายที่เป็นสมาคมตัวแทนระดับชาติของวิชาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

องค์กรสหวิชาชีพนี้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนผลประโยชน์ของผู้ประกอบอาชีพที่เป็นสมาชิก และให้คำแนะนำแก่สมาชิก ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทกว่า 75,000 แห่ง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 450,000 ตำแหน่ง ซึ่งรวมถึงแรงงานชั่วคราวกว่า 250,000 ราย (แหล่งที่มา: INTERFEL, กันยายน 2558)

INTERFEL เป็นตัวกลางสำหรับการเจรจาระหว่างวิชาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทุกภาคส่วนและอาชีพในอุตสาหกรรมผลไม้และผักสด รวมทั้งสนับสนุนการบริโภคผลไม้และผักสด ภารกิจขององค์กรยังรวมถึงการสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคและตลาด การสร้างความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานของตลาดผลไม้และผักสด การหารือข้อตกลงระหว่างวิชาชีพกับหน่วยงานสาธารณะ การกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในด้านการวิจัยและการทดลอง การส่งเสริมและปกป้องภาคส่วนนี้ทั้งในตลาดระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนการดำเนินการสื่อสาร เช่น การให้ข้อมูลและการโฆษณา