อาณาจักรแห่งความหลงใหลสู่กลยุทธ์การตลาดเจาะกลางใจผู้บริโภค
ก่อนที่เราจะรู้จักกับคำว่า “Fandom Marketing” เราคงต้องรู้จักกับคำว่า “แฟนด้อม” หรือ “ด้อม” เสียก่อน
โดยคำว่าแฟนด้อมมาจากคำ 2 คำ นั่นคือ Fan club + Kingdom ซึ่งสื่อถึงศูนย์รวมผู้ที่มีใจรักในสิ่งเดียวกันที่ให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่และเหนียวแน่นกว่าแค่ความเป็นแฟนคลับ และไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะกับแวดวงศิลปินเกาหลีเท่านั้น แต่ยังรวมถึง ความสนใจในด้านอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ซีรีส์ เกม นักกีฬา หรือ นางงาม ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ “Fandom Marketing” จึงหมายถึงการทำการตลาดโดยอาศัยพลังแห่งความรักและความคลั่งไคล้ที่ “ชาวด้อม” มีต่อเจ้าของด้อมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การเพิ่มยอดขาย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งแตกต่างจากการทำตลาดแบบเจาะกลุ่มลูกค้าโดยยึดช่วงอายุ หรือเพศเป็นตัวตั้งเหมือนที่เราเคยเห็นกัน เช่น “ด้อมใจฟู” ของ “คัลแลน-พี่จอง” 2 ยูทูบเบอร์หนุ่มหล่อชาวเกาหลีใต้ จากช่อง Cullen HateBerry ที่ทำสยามแตกไปเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566 จากการปรากฏตัวในกิจกรรมของผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งแคมเปญการตลาดแบบ “Fandom Marketing” ที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างถล่มทลายเลยก็ว่าได้
ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล
นอกจากนี้ การทำการตลาดแบบ Fandom Marketing ยังมีความเหมาะสมกับพฤติกรรมการเสพสื่อและคอนเทนต์ของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ที่มีการแบ่งกลุ่มแยกย่อยเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น
ทั้งยังช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถกำหนดรูปแบบการทำการตลาดได้ง่ายขึ้นจากกิจกรรมหรือวัฒนธรรมเฉพาะของแต่ละด้อมหรือจุดเด่นของเจ้าของด้อมที่แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า ด้วยพลังแห่งรักและความคลั่งไคล้ของชาวด้อมทำให้ Fandom Marketing เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การตลาดที่น่าจับตาในยุคดิจิทัล และยังมีทีท่าว่าจะแรงต่อเนื่องในอนาคตอีกด้วย
>> อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fandom Marketing ในภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2567
Author
Tanupat Piyarat, Sunita Phanraksa