พลิกโฉมการตลาดดิจิทัลด้วย Gen AI “ทำงานน้อยลง แต่ได้ผลมากขึ้น”

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในยุคดิจิทัลมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับทุกวงการ แน่นอนว่าแวดวงการตลาดเองก็ได้ปรับตัวให้ตอบรับกับ AI รูปแบบการใช้ประโยชน์จาก AI จะเป็นอย่างไร ไฮไลต์จากการพูดคุยกันเกี่ยวกับแนวทางการใช้งานและข้อควรระวังของ AI ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจการตลาดดิจิทัล (The Transformative Role of AI in Marketing Communications) ซึ่งจัดขึ้นโดย PRCA Asia Pacific ของสองสปีกเกอร์อย่าง เจเรมี ซอว์ (Jeremy Seow) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการระดับภูมิภาค (Regional Chief Operating Officer) จาก Allison ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดและสื่อสาร และชาลู วาซู (Shalu Wasu) ผู้ร่วมก่อตั้ง (Co-Founder) Gimmefy ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยครีเอทกลยุทธ์ด้านการตลาดดิจิทัลโดยใช้ AI น่าจะทำให้เราเห็นแนวทางการใช้งาน AI ได้มากยิ่งขึ้น

AI ในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยี AI ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตเราตั้งแต่ก่อนที่จะมีการเปิดตัวแชทจีพีที (ChatGPT) โดยบริษัทโอเพนเอไอ (OpenAI) เจเรมี ซอว์ จาก Allison มองว่า คลิปวิดีโอแนะนำบนยูทูบ (Youtube) หนังหรือซีรีส์เรื่องที่เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) แนะนำว่า เราน่าจะสนใจดู หรือแม้แต่เพลงที่เราไม่เคยฟัง แต่กลับรู้สึกชอบทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ลองฟังบนสปอติฟาย (Spotify) ล้วนแล้วแต่มาจากเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยตัวเองของคอมพิวเตอร์ (Machine Learning) หรือ ML ซึ่งเป็นรากฐานของ AI ทั้งสิ้น

ดังนั้น คำถามสำคัญสำหรับวงการการตลาดจึงไม่ใช่ “เราจะใช้ประโยชน์จาก AI อย่างไร” หากแต่เป็น “เราจะใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์รู้สร้าง (Generative AI) หรือ Gen AI อย่างไรต่างหาก”

ถ้าอย่างนั้น เราจะใช้ประโยชน์จาก Gen AI ได้อย่างไร

สำหรับแวดวงการตลาด เราสามารถใช้งาน Gen AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1) จัดการข้อมูลที่มีอย่างเหมาะสม 

แบรนด์จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก เพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมกับการทำแคมเปญสำหรับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทั้งในแง่ของระดับภาษา วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งมุกตลกที่สอดรับกับกลุ่มเป้าหมาย การใช้งาน Gen AI สามารถช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ด้วยศักยภาพดังกล่าวทำให้แบรนด์สามารถวิเคราะห์ความคิดเห็นจากโซเชียลมีเดีย เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือออกแคมเปญให้ทันกระแส และสอดรับกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้

นอกจากนี้ วาซู ผู้ร่วมก่อตั้ง Gimmefy ได้เสนอแนวทางที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ศักยภาพด้านการวิเคราะห์ของ AI ว่า แบรนด์สามารถนำ Gen AI มาใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของคู่แข่ง สร้างความได้เปรียบให้กับการแข่งขันทางธุรกิจที่กำลังร้อนระอุได้อีกด้วย

2) สร้างสารตั้งต้นไอเดีย

Gen AI ช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ ไม่ต้องเริ่มต้นทำแคมเปญจากศูนย์ ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ใช้พลังความคิดและเวลาพอสมควร เราสามารถปรับปรุงหรือต่อยอดจากไอเดียที่ AI นำเสนอได้เลย นับเป็นตัวช่วยให้งานคืบหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น ทีมครีเอทีฟของแคมเปญอาจใช้ Gen AI สร้างโลโก้แทนที่จะมานั่งคิดโลโก้เองตั้งแต่ต้น จากนั้นก็เลือกและนำโลโก้เหล่านี้ไปปรับแต่งให้ได้โลโก้ที่ถูกใจที่สุด

3) คาดการณ์ปัญหาล่วงหน้า

ศักยภาพในการสร้างข้อความ ภาพ และวิดีโอของ Gen AI สามารถทำให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเห็นผลลัพธ์ของงานหรือภาพรวมของแคมเปญได้อย่างรวดเร็วและชัดเจนยิ่งขึ้น ก่อนลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ทีมงานสามารถมองเห็นและรับมือกับปัญหาในระดับที่ลึกซึ้งและตรงจุดมากยิ่งขึ้น

4) ยกระดับความชัดเจนในการสื่อสาร

อีกหนึ่งความท้าทายที่นักการตลาดต้องเผชิญ คือ การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันกับลูกค้า ขั้นตอนนี้ Gen AI สามารถช่วยนักการตลาดสร้างแบบจำลองแคมเปญ (Campaign Mockup) เพื่อจะช่วยอธิบายหรือสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างชัดเจน ตอบโจทย์และตรงจุดกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น

นอกจากการสื่อสารกับลูกค้าแล้ว การมีแบบจำลองแคมเปญยังทำให้การนำเสนอผลงานต่อฝ่ายบริหารขององค์กรเข้าใจได้ง่ายขึ้นและทำให้ทีมงานมองเห็นภาพรวมของงานได้ตรงกันอีกด้วย

ข้อควรระวังในการใช้ Gen AI

แม้ว่าเครื่องมืออย่าง Gen AI จะมีประโยชน์มากมายก็จริง แต่ก็มีข้อควรระวังดังต่อไปนี้:

เลือกเครื่องมือให้ตรงกับงาน: การเลือกใช้เครื่องมือ Gen AI ควรเลือกให้ตรงกับลักษณะงานที่ต้องการ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เนื่องจาก Gen AI แต่ละประเภทมีศักยภาพที่โดดเด่นแตกต่างกันไป หากเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพของงานออกมาน่าพอใจ

ตรวจสอบก่อนส่งถึงมือลูกค้า: แม้ว่า Gen AI จะสามารถผลิตงานออกมาได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ถือว่ายังไม่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นทีมงานจึงจำเป็นต้องตรวจสอบให้ดีเสียก่อน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด

รักษาสมดุลระหว่าง Gen AI และความสร้างสรรค์ของมนุษย์: แบรนด์ต่าง ๆ ควรระลึกไว้เสมอว่า Gen AI เป็นเพียงเครื่องมือที่จะแบ่งเบางานเท่านั้น ไม่สามารถทดแทนความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ได้ ดังนั้น การทำให้ทั้งมนุษย์ และ Gen AI ทำงานร่วมกันได้ในระดับที่สมดุลและตอบโจทย์ความต้องการได้มากที่สุดถือเป็นสิ่งที่จำเป็น

โดยสรุปแล้ว Gen AI กำลังพลิกโฉมวงการการตลาด ช่วยให้นักการตลาด “ทำงานน้อยลง แต่ตรงจุดมากขึ้น” อย่างไรก็ตาม การใช้ Gen AI อย่างชาญฉลาดและระมัดระวังเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ แบรนด์ใดก็ตามที่สามารถบริหารการใช้งาน Gen AI และความสร้างสรรค์ของมนุษย์ได้อย่างชำนาญ จะเป็นผู้ได้เปรียบในการแข่งขันที่กำลังร้อนระอุขึ้นอย่างแน่นอน

Author picture

By Tanupat Piyarat, Sunita Phanraksa

ข่าวล่าสุด

ทำความรู้จัก “UGC” จะดีแค่ไหนถ้า “ลูกค้า” โฆษณากันเอง

UGC หรือ User-Generated Content คือ คอนเทนต์ทุกรูปแบบที่ผู้บริโภคเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง และยังมีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไม่ว่าจะคอนเทนต์นั้น ๆ จะปรากฎออกมาในรูปรูปแบบของข้อความบนโซเชียลมีเดีย…

Read More »

เปิดมุมมอง 7 กูรู ดูโอกาสและอุปสรรคสื่อไทยปี 2568

สื่อไทยยังคงมีโอกาสเติบโตท่ามกลางการแข่งขันกับกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ กุญแจสู่ความสำเร็จคือการปรับการผลิตคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและอัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม ซึ่งจะนำไปสู่โมเดลธุ…

Read More »

กลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ปัง! กับ 3 ผู้เชี่ยวชาญวงการเล่าเรื่องแบรนด์

การสร้างคอนเทนต์ที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการรักษาสมดุลระหว่างองค์ประกอบสามด้าน ได้แก่ ผู้ชม แบรนด์ และผู้สร้างคอนเทนต์โดยต้องค้นหาจุดร่วม (Common Value)

Read More »

5 วิธีปรับใช้ Micro-Content สำหรับแบรนด์

Micro-Content เป็นกลยุทธ์การทำคอนเทนต์แบบสั้น โดยย่อยประเด็นออกมาให้กระชับ เข้าใจง่าย เพื่อดึงความสนใจจากลูกค้าบนโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียในช่วงสั้น ๆ เหมาะกับการนำมาใช้ในแคมเปญการตลาด

Read More »

กลยุทธ์ทำ SEO วิดีโอ ให้ติดอันดับ Google ปี 2024

ทราฟฟิกบนอินเทอร์เน็ตกว่า 80% มาจากคอนเทนต์วิดีโอ ทำให้การทำ SEO สำหรับวิดีโอกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในปัจจุบัน

Read More »

อนาคตวงการครีเอเตอร์ไทยในปี 2035: บทวิเคราะห์จากงานวิจัย FORESIGHT STUDY

ผลการศึกษาของ Tellscore และ FutureTales LAB by MQDC ในงาน THAILAND INFLUENCER AWARDS เผยภาพอนาคตวงการครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ไทยใน 6 มิติสำคัญ

Read More »