เปิด Insight แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แอปไหน ? ครองใจนักชอปไทย

ในยุคดิจิทัลที่การชอปปิงออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคชาวไทย จากผลสำรวจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยปี 2566 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ระบุว่า E-Commerce ในกลุ่ม B2C (Business to Customer) ครองแชมป์สัดส่วนมูลค่าอีคอมเมิร์ซมากที่สุด โดยช่องทางการขายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ e-Marketplace เช่น Lazada และ Shopee แต่ท่ามกลางตัวเลือกที่หลากหลาย แพลตฟอร์มใดที่ผู้บริโภคพูดถึงมากที่สุดในปัจจุบัน ?

บทความนี้จะนำเสนอผลการวิเคราะห์เสียงของผู้บริโภคจากการฟังเสียงในสังคมออนไลน์ (Social Listening) โดยบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ซึ่งใช้เครื่องมือ DXT360 ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากความคิดเห็นของนักชอปชาวไทยในช่วงวันที่ 1 สิงหาคม – 10 กันยายน 2567 เพื่อเผยให้เห็นถึงแนวโน้มการเลือกใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซล่าสุด

Shopee-Lazada แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับการพูดถึงสูงสุด (Mention)

ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย พบว่า Shopee (ช้อปปี้) และ Lazada (ลาซาด้า) เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมที่ได้รับการพูดถึงสูงสุด โดย Shopee ได้รับการพูดถึงมากในสัดส่วน 36% Lazada 27% Temu (เทมู) 23% TikTok Shop (ติ๊กต๊อกชอป) 13% และ อื่น ๆ 1% สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมและการรับรู้ของผู้บริโภคต่อแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปัจจุบัน

Shopee และ Lazada ถือเป็นผู้นำในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย โดยทั้งสองแพลตฟอร์มมีกลยุทธ์ที่โดดเด่นในการดึงดูดผู้ใช้ที่แตกต่างกัน Shopee เน้นการสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ ด้วยการออกแบบ UI (User Interface) ที่ใช้งานง่าย และนำเสนอฟีเจอร์นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ Shopee ยังให้ความสำคัญกับการสร้างปฏิสัมพันธ์หรือการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีผ่านแพลตฟอร์ม

ในขณะที่ Lazada มุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มตามแนวคิด Shoppertainment โดยเฉพาะผ่านฟีเจอร์ LazLive ซึ่งเป็นการไลฟ์สตรีมที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมและเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึกระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ส่งผลให้ผู้ใช้งานใช้เวลาบนแพลตฟอร์มนานขึ้นและมีแนวโน้มที่จะกลับมาใช้บริการซ้ำ

ส่องประสบการณ์ใช้แอปของนักชอปออนไลน์

จากการเก็บข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ถึงประสบการณ์การใช้งาน Shopee และ Lazada ผ่านเครื่องมือ DXT360 พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่า Shopee มีจุดเด่นในเรื่องการออกแบบหน้าจอผู้ใช้ (UI) ซึ่งทำให้ใช้งานง่ายทั้งการค้นหาสินค้าและการเก็บโค้ดโปรโมชั่นที่สะดวก

ในขณะที่ Lazada ผู้บริโภคมองว่า มีจุดเด่นในเรื่องราคาสินค้า โดยเฉพาะประเภทสินค้าที่มีราคาสูง หรือสินค้าที่ขายผ่าน Official Store ของแบรนด์ต่าง ๆ มักจะมีราคาสุทธิที่ถูกกว่า นอกจากนี้ Lazada ยังโดดเด่นในด้านบริการหลังการขาย ทั้งการเคลมสินค้าและการติดต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคส่วนใหญ่ 

ปัจจุบันตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยไม่ได้มีเพียงแค่สองเจ้ายักษ์ใหญ่ Shopee และ Lazada อีกต่อไป ที่นักชอปไทยมักเรียกกันว่า “แอปส้ม” และ “แอปฟ้า” แต่ตอนนี้มีผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาด นั่นคือ Temu แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหม่ที่กำลังมาแรงในหลายประเทศ และได้เริ่มขายสินค้าหลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทยเมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Temu คือ แม้จะเข้ามาขายสินค้าในไทยแล้ว แต่ Temu ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนการค้าในประเทศไทย และยังไม่มีการจัดตั้งบริษัทในไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งนำไปสู่การพูดถึงอย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์เป็นจำนวนมากตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงเกี่ยวกับ Temu แบ่งออกเป็นหัวข้อดังนี้

  • ยังไม่จดทะเบียนการค้า ยังไม่เข้าข่ายเสียภาษีไทย : Temu เข้ามาทำตลาดในไทยโดยยังไม่มีการจดทะเบียนการค้าอย่างเป็นทางการ ซึ่งทำให้ยังไม่เข้าเงื่อนไขต้องเสียภาษีในประเทศไทย

  • ผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย : การเข้ามาของ Temu อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยและร้านค้าปลีกของไทย เนื่องจากโมเดลการทำธุรกิจของ Temu เป็นการซื้อขายโดยตรงกับโรงงานผู้ผลิตสินค้า ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการทำราคาได้ถูกกว่าคู่แข่ง

  • คุณภาพสินค้าและราคา : เนื่องจาก Temu เพิ่งเริ่มดำเนินการในไทย จึงอัดโปรโมชันส่งฟรีทุกออเดอร์ นโยบายคืนสินค้าในทุก ๆ ออเดอร์ฟรีภายใน 90 วัน หรือสามารถเลือกรับเป็นการคืนเงินส่วนหนึ่ง โดยไม่ต้องส่งสินค้ากลับคืนได้

  • ความเชื่อมั่นในการติดตั้งแอปพลิเคชัน : ผู้ใช้หลายรายยังมีความกังวลเรื่องการเก็บข้อมูลผู้ใช้ผ่านแอปฯ และความกังวลด้านความปลอดภัย

  •  

เสียงตอบรับ Temu จากผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดียไม่ค่อยดีนัก ด้วยเหตุผลหลัก ๆ คือ Temu ยังไม่ได้จดทะเบียนการค้าในไทย และราคาสินค้าไม่ได้ถูกกว่า Shopee (แอปส้ม) และ Lazada (แอปฟ้า) อย่างที่คาดหวังไว้ ผลที่ตามมาคือ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ตัดสินใจกลับไปใช้ Shopee และ Lazada เช่นเดิม 

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือในแคมเปญ 9.9 ที่ผ่านมา Shopee ประเทศไทย สามารถทำยอดขายได้ถึง 1 พันล้านบาทภายในเวลาเพียง 18 นาที ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของแพลตฟอร์ม เช่น Shopee Live, Shopee Video และ Shopee Affiliate Program แสดงให้เห็นว่า Shopee ยังคงเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่นักชอปชาวไทย

TikTok Shop Social Commerce ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

Social Commerce แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมไม่แพ้กันในประเทศไทย โดยเฉพาะ TikTok Shop ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ข้อได้เปรียบของ TikTok Shop คือการที่ตัวแอปเป็นโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมอันดับต้น ๆ หากมีการทำคอนเทนต์รีวิวสินค้า หรือการไลฟ์สตรีมขายสินค้า สามารถทำได้จบในแอปเดียวโดยไม่ต้องข้ามไปแพลตฟอร์มอื่น ซึ่งจากความเห็นผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ชื่นชอบพบว่า การชอปปิงผ่าน TikTok Shop ได้ส่วนลดสูงกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าผ่านการไลฟ์สตรีมที่จะได้รับโค้ดส่วนลดพิเศษ โดยไม่ต้องซื้อสินค้าขั้นต่ำตามที่กำหนด ทำให้ประหยัดได้มากกว่าปกติ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ TikTok Shop ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว

6 รูปแบบ อีคอมเมิร์ซ มีอะไรบ้าง ?

อีคอมเมิร์ซ (E-commerce) หรือธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เป็นการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มีผู้ให้บริการจำนวนมาก โดยอีคอมเมิร์ซ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

  • B2C Business to Customer การทำธุรกิจซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค
  • B2B Business to Business การทำธุรกิจซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการและผู้ประกอบการ
  • B2G Business to Government การทำธุรกิจซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการและภาครัฐ
  • C2C Customer to Customer การทำธุรกิจซื้อขายระหว่างผู้บริโภคและผู้บริโภค
  • G2C Government to Customer การทำธุรกิจซื้อขายระหว่างภาครัฐและผู้บริโภค
  • G2G Government to Government การทำธุรกิจซื้อขายระหว่างภาครัฐและภาครัฐ

ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หา Insight รวบรวมข้อมูลจาก DXT360 (Social Listening and Media Monitoring Platform) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 1 สิงหาคม – 10 กันยายน 2567

เกี่ยวกับ DXT360

DXT360 เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารได้ทั้งจากโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ สื่อบรอดคาสท์ และสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงของผู้บริโภค (Consumer Voices) คอนเทนต์จาก Influencers และ KOLs ไปจนถึงข่าวจากสื่อมวลชน ที่รวบรวมเข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกัน มีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ Dashboard ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ใช้งานแต่ละราย (Customizable Dashboard) จึงทำให้เข้าใจและเห็น Insight ในประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยให้เห็นทิศทางการสื่อสารของแบรนด์ต่าง ๆ สามารถนำมาต่อยอดเพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารขององค์กรได้

Author picture

By Narupon Klaiyuangthong

ข่าวล่าสุด

เปิด Insight แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แอปไหน ? ครองใจนักชอปไทย

ในยุคดิจิทัลที่การชอปปิงออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคชาวไทย จากผลสำรวจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยปี 2566…

Read More »

กระแสโซเชียล อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร นายกฯ คนที่ 31 วิเคราะห์เสียงสะท้อนจากชาวเน็ต

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติถอดถอนนายเศรษฐา ทวีสิน จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทยได้เสนอชื่อ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หรือ “อุ๊งอิ๊ง” เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18…

Read More »

ส่องกระแส “โอลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024” บนโซเชียลมีเดีย

กระแสเชียร์สนั่นโซเชียล! คนไทยทั้งประเทศร่วมใจส่งพลังผ่านโซเชียลมีเดีย หนุนทัพนักกีฬาไทยสู้ศึกโอลิมปิกเกมส์ปารีส 2024 (Olympic Games Paris 2024)

Read More »

วิกฤต CrowdStrike โซเชียลไทยคิดเห็นอย่างไร?

วิกฤต CrowdStrike สั่นสะเทือนโลกไอที โซเชียลระอุ! แห่แชร์ผลกระทบรวมถึงจอฟ้ามรณะ ดันเอ็นเกจเมนต์พุ่งเกือบ 6 แสนครั้ง พร้อมเผยกลยุทธ์ Real-time Marketing สุดสร้างสรรค์ที่บรรดาแบรนด์และชาวเน็ตโดดร่วมวงฉว…

Read More »

ทุเรียนไทย ของแทร่! พันธุ์ไหน? ถูกปากมหาชน

“ทุเรียน” ผลไม้ยอดนิยมเอกลักษณ์แห่งซอฟต์พาวเวอร์ไทย สร้างกระแสคึกคักบนสังคมออนไลน์ “หมอนทอง” เป็นสายพันธุ์ยืนหนึ่งที่มีแต่คนพูดถึงมากที่สุด โดยเฉพาะทุเรียนจากสวนจันทบุรี และ “บุฟเฟ่ต์ทุเรียน”…

Read More »

5 “Art Toy” ยอดฮิต ของแรร์ที่นักสะสมตามหา

กระแสความนิยม “อาร์ตทอย” (Art Toy) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไทยซึ่ง “อาร์ตทอย” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ของเล่นสำหรับเด็กเท่านั้น แต่กลายเป็นของเล่นและของสะสมที่มีการออกแบบสะท้อนถึงตัวตนและความคิดสร้างสรรค์ขอ…

Read More »