“แอปหาคู่” เจาะเทรนด์คนรุ่นใหม่หารักออนไลน์

ท่ามกลางสังคมปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนโสดที่เริ่มหันมาใช้แอปพลิเคชันเพื่อค้นหาคู่และสร้างความสัมพันธ์ แม้ว่าการใช้งานแอปพลิเคชันหาคู่ในประเทศไทยจะยังไม่แพร่หลายเท่ากับในต่างประเทศ แต่ก็มีแนวโน้มว่าคนไทยจะเปิดรับวัฒนธรรมการสร้างความสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันเหล่านี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตที่ทำให้คนไทยในวัยเจริญพันธุ์มีอัตราการโสดสูงถึง 40.5% ตามข้อมูลจากสภาพัฒน์ฯ

จากกระแสดังกล่าว บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์จากการฟังเสียงผู้บริโภคบนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Listening) ระหว่างวันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2567 ผ่านเครื่องมือ DXT360 พบว่ามีการกล่าวถึง “แอปพลิเคชันหาคู่ (Dating Apps)” ผ่านช่องทาง X มากที่สุด รองลงมาเป็น Facebook และ Pantip ตามลำดับ โดยได้รับเอ็นเกจเมนต์ (Engagement) หรือ การมีส่วนร่วมจากผู้คนบนโซเชียลจำนวนมากถึง 322,146 ครั้ง

แอปหาคู่สุดฮิตครองใจคนโสด

หากพูดถึงแอปพลิเคชันหาคู่ หรือ Dating Apps ที่คนโสดทั่วโลกนิยมใช้กันนั้นมีอยู่มากมายทั่วโลก ซึ่งแต่ละแอปก็มีลักษณะและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป แต่สำหรับในประเทศไทยแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมโดยมีการพูดถึงบนโซเชียลมีเดีย (Mention) มากที่สุดในเดือน พ.ค. 2567 คือ Tinder (77%) รองลงมา Coffee Meets Bagel (12%) Her (8%) Bumble (2%) และ Omi (1%) ตามลำดับ

Top 5 แอปหาคู่ที่ถูก Mention มากที่สุดบนโซเชียลมีเดีย

  1. Tinder (77%)
  2. Coffee Meets Bagel (CMB)  (12%)
  3. Her (8%)
  4. Bumble (2%)
  5. Omi (1%)

1) Tinder

แอปพลิเคชันที่คนทั่วโลกต่างรู้จักเป็นอย่างดีและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้รับการพูดถึง (Mention) บนโซเชียลมีเดีย (Social Media) ในไทยมากที่สุดในเดือน พ.ค. 2567 ถึง 77% เนื่องจากแอปมีการคัดกรองคนที่เข้ามาสมัคร ใช้งานฟรี และมีฟังก์ชันการใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เพียงแค่ใช้วิธีการ “ปัด” หน้าจอ โดยปัดซ้ายคือไม่ถูกใจ ปัดขวาคือถูกใจ และหากถูกใจมาก ๆ ให้ปัดขึ้น เพื่อหาคนที่แมตช์มาแชทหรือเริ่มต้นสนทนาเพื่อทำความรู้จักกัน นอกจากนี้ Tinder ยังมีแพ็คเกจหลายระดับ เช่น Premium, Gold, Plus และ Platinum เพื่อให้เราเลือกคนที่มีโปรไฟล์ดี ๆ และเพิ่มโอกาสในการแมตช์กับผู้คนทั่วโลกได้มากขึ้น  

                                                 

2) Coffee Meets Bagel (CMB)

แอป CMB จะมีอัลกอริทึมในการสุ่มคนที่มีความสนใจคล้าย ๆ กันกับเรามาให้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา งานอดิเรก ความชอบต่าง ๆ และหากแมตช์กันแล้วจะต้องคุยกันภายใน 7 วัน มิเช่นนั้นระบบจะลบแมตช์นั้นทิ้งไป ดังนั้นแอปนี้จึงเหมาะกับผู้คนที่ต้องการความสัมพันธ์แบบจริงจัง เนื่องจากเอกลักษณ์ของแอปจะเน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ

 

3) Her

เอกลักษณ์ของแอปนี้ตามชื่อแอปเลย “Her” เหมาะกับผู้หญิงที่ต้องการหาคู่เป็นผู้หญิงเท่านั้น โดยการใช้งานแอปก็เช่นเดียวกับ Tinder ที่มีการปัดซ้าย และปัดขวา หากแมตช์กันก็สามารถพูดคุยและทำความรู้จักกันได้  

 

4) Bumble

แอปนี้เหมาะกับคนที่ต้องการหาแฟนต่างชาติ มีการใช้งานกันเยอะมากในต่างประเทศ โดยเอกลักษณ์ของแอปนี้จะให้ฝ่ายหญิงเป็นการทักหาก่อน และหากแมตช์กันแล้วไม่ได้แชทกันภายใน 24 ชม. ระบบก็จะลบแมตช์นั้นทิ้งไป สำหรับการใช้งานของแอปนี้จะมีลักษณะคล้าย Tinder ที่มีการปัดซ้ายเมื่อไม่ถูกใจ และปัดขวาเมื่อถูกใจ นอกจากนี้แอปยังมีฟีเจอร์ หาเพื่อนรู้ใจ (Bumble BFF) และหาเครือข่ายทางสังคม (Bumble Bizz) ด้วย

 

5) Omi

แอปหนึ่งที่คนไทยคุ้นหน้าคุ้นตากัน โดยลักษณะการใช้งานแอปยังคงเช่นเดียวกับแอปอื่น ๆ ที่มีการปัดซ้าย ปัดขวา นอกจากนี้ Omi มีฟังก์ชัน “Quiz” เป็นการตั้งและตอบคำถามกัน เพื่อให้รู้จักกันได้เร็วและมากกว่าเดิม 

เปรียบเทียบจุดเด่น 5 แอปหาคู่ แอปไหนโดนใจสุด

Tinder (จุดเด่น) 

– เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง

– มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก

– ใช้งานง่าย

– เชื่อมต่อกับ Facebook 

 

Coffee Meets Bagel (CMB)  (จุดเด่น) 

– เน้นหาคนคุยจริงจัง

– ต้องมีการสนทนากันภายใน 7 วัน หลังจากแมตช์

– ให้ความสำคัญกับโปรไฟล์ผู้ใช้งาน

– สามารถแสดงความคิดเห็นในโปรไฟล์และรูปภาพได้

 

Bumble  (จุดเด่น) 

– เน้นทำความรู้จักชาวต่างชาติ

– ต้องมีการสนทนากันภายใน 24 ชม. หลังจากแมตช์

– ผู้หญิงเป็นฝ่ายทักก่อน

– มีฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับหาคู่เพียงอย่างเดียว

 

Her  (จุดเด่น) 

– เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ชอบผู้หญิง

– เป็นอีกช่องทางให้ข่าวสารสำหรับชาว LGBTQ+

 

Omi  (จุดเด่น)

– มีฟังก์ชัน Quiz ช่วยค้นหาคู่ได้ตรงใจมากขึ้น

– เชื่อมต่อกับ Instagram

 

อย่างไรก็ตาม ทุกแอปต่างมีเอกลักษณ์และจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและความถนัดในการใช้งานของผู้บริโภค

ชาวโซเชียลพูดถึง “แอปหาคู่” ในแง่มุมไหน?

จากการรวบรวมความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับแอปพลิเคชันประเภท Dating Apps หรือแอปหาคู่ พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่ถึง 41% บอกเล่าประสบการณ์ของตัวเองที่ได้แฟนจากการใช้แอปพลิเคชันหาคู่ รองลงมา 22% เป็นการเตือนภัยกลลวงของมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในรูปแบบของผู้คนที่ต้องการนัดเดต 20% เป็นการแชร์ประสบการณ์คู่รักแอบมีกิ๊กผ่านแอปหาคู่ ส่วนอีก 17% เป็นการแนะนำวิธีการเล่นแอป

เล่นแอปหาคู่ ปัดแล้วเจออะไรบ้าง?

เป็นที่แน่นอนว่าความสัมพันธ์ที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่ทุกคนมองหา โดยจากการเก็บข้อมูลบนโซเชียลมีเดียพบว่า ผู้ที่ใช้บริการแอปหาคู่มีเพียง 34% เท่านั้นที่มีวัตถุประสงค์ใช้แอปในการหาแฟนหรือมีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนแบบคนรู้ใจ นอกเหนือจากนั้นกลับกลายเป็นต้องพบเจอกับมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งผู้ชักชวนให้ลงทุนหรือชวนซื้อของออนไลน์ รวมทั้งหลายคนต้องพบเจอกับคนที่ใช้แอปเพื่อเข้ามาหาความสัมพันธ์ระยะสั้น   

สเปกแบบไหนที่คนโสดมองหา?

จากข้อมูล Insight พบว่าสัญชาติเป็นปัจจัยแรกที่คนโสดใช้ในการตัดสินใจทำความรู้จักกับผู้อื่น โดยมีถึง 20% ของคนโสดที่ให้ความสำคัญกับสัญชาติ อย่างกรณีข่าว “คุณวุ้นเส้น” ชาวเยอรมัน หรือที่หลายคนให้ฉายากันว่า “จอห์น วิค เมืองไทย” ซึ่งเขาได้พบรักกับภรรยาคนไทยผ่านแอปพลิเคชันหาคู่ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจรองลงมาคือ หน้าตา ทัศนคติ อาชีพ ฐานะ รูปร่าง การศึกษา อายุ และไลฟ์สไตล์

เปิดเหตุผลคนเลิกใช้แอปหาคู่

จากการรวบรวมข้อมูลบนโซเชียลมีเดียพบว่า ผู้ใช้แอป 31% ตัดสินใจยกเลิกใช้แอปหาคู่เนื่องจากผิดหวังในความสัมพันธ์ รวมถึงประสบการณ์ที่ทำให้รู้สึกเสียเวลาและไม่ปลอดภัย สอดคล้องกับผลสำรวจ Forbes Health ที่ระบุว่าปัจจุบันมีผู้คนกว่า 78% รู้สึกเหนื่อยล้ากับการใช้แอปหาคู่ เนื่องจากไม่ประสบความสำเร็จในความรัก 

อย่างไรก็ตาม คนรุ่นใหม่นอกจากจะนิยมใช้แอปพลิเคชันหาคู่เพื่อสร้างความสัมพันธ์แล้วยังมีแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ ที่เป็นทางเลือก อย่างเช่น Facebook และ Pantip ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์มีข้อดีในการเปิดโอกาสให้เราได้เจอผู้คนใหม่ ๆ ทั่วโลก แต่ควรตระหนักรู้ว่า ความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์ต้องอาศัยความจริงใจ ซื่อสัตย์ ความอดทน และให้เวลาในการทำความรู้จักกันจริง ๆ เพื่อความสัมพันธ์ที่มั่นคงและยั่งยืน นอกจากนี้ ควรระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยและไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไปในช่วงแรกที่เพิ่งรู้จักกัน

ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หา Insight รวบรวมผ่าน DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 1 – 31 พ.ค. 2567

Author picture

By Kanisorn Rasrichai, Kuntida Kawinwit

ข่าวล่าสุด

5 “Art Toy” ยอดฮิต ของแรร์ที่นักสะสมตามหา

กระแสความนิยม “อาร์ตทอย” (Art Toy) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในไทยซึ่ง “อาร์ตทอย” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ของเล่นสำหรับเด็กเท่านั้น แต่กลายเป็นของเล่นและของสะสมที่มีการออกแบบสะท้อนถึงตัวตนและความคิดสร้างสรรค์ขอ…

Read More »

“แอปหาคู่” เจาะเทรนด์คนรุ่นใหม่หารักออนไลน์

ท่ามกลางสังคมปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนโสดที่เริ่มหันมาใช้แอปพลิเคชันเพื่อค้นหาคู่และสร้างความสัมพันธ์ แม้ว่าการใช้งานแอปพลิเคชันหาคู่ในประเ…

Read More »

ส่องแบรนด์คอนโดในโซเชียลมีเดีย ย่าน “ลาดพร้าว” มาแรงขึ้นแท่นทำเลฮิต

ดาต้าเซ็ต สำรวจตลาดการซื้อขายคอนโดมิเนียมบนสื่อสังคมออนไลน์ พบทำเลใกล้รถไฟฟ้ายังเป็นพื้นที่ที่ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ความสนใจ โลเคชั่นย่านลาดพร้าวมาแรงหลังรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดให้บริการ และ…

Read More »

“กางเกงช้าง” ฟีเวอร์ ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทำถึงจนออเดอร์ล้น

“กางเกงช้าง” สินค้าท่องเที่ยวสุดฮิต ต่อยอดไอเดียซอฟต์พาวเวอร์ จากกางเกงช้างสู่ดีไซน์ใหม่ไม่เหมือนใคร ชูอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่หนุนเศรษฐกิจและท่องเที่ยว “กางเกงปลาทูแม่กลอง” ยืนหนึ่งในใจโซเชียลที่มีชา…

Read More »

“ทัวร์แดนมังกร” คึกคัก เอ็นเกจเมนต์ฉ่ำ รับวีซ่าฟรี

วีซ่าฟรีไทย-จีน มีผล 1 มี.ค. 67 กระตุ้นการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศคึกคัก คนไทยสนใจข้อมูลท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น ส่องกระแสโซเชียลพบ “เสฉวน” “ยูนนาน” “ปักกิ่ง” เป็น 3 มณฑลยอดฮิตที่คนไทยนิยมไปเที่ยว…

Read More »

Vlog Week วิดีโอยาวมาแรง! ดันยอดวิวพุ่งจน “จะเครซี่” สวนเทรนด์คลิปวิดีโอสั้น

กระแสวิดีโอยาวมาแรงดันเอ็นเกจเมนต์ “Vlog Week” พุ่งติดเทรนด์ สวนทฤษฎีคนชอบดูคลิปวิดีโอสั้น หลังอินฟลูเอนเซอร์และยูทูบเบอร์เริ่มทำเนื้อหาคลิปยาวเกินชั่วโมงเสิร์ฟคนดูแบบเรียลๆ แต่มียอดวิวทะลุล้าน…

Read More »