เปิดตำรา Gamification Marketing จุดบรรจบของ “เกม” และ “การตลาด”

เปิดตำรา Gamification Marketing จุดบรรจบของ "เกม" และ "การตลาด"

เมื่อลูกค้าบางรายมักจะซื้อสินค้าด้วย “อารมณ์” มากกว่า “เหตุผล” หน้าที่กระตุกต่อมความอยากของผู้ซื้อจึงตกเป็นของเหล่าผู้ขาย หนึ่งในกลยุทธ์ที่น่าจะตอบโจทย์สำหรับการกระตุ้นลูกค้าให้เข้ามามีส่วนร่วมและซื้อโดยไม่ต้องคิดถึงเรื่องเหตุผลเท่าไรนัก คือ “Gamification Marketing” ที่ได้ผสมผสานความเป็น “เกม” เข้ากับ “การตลาด” พลิกโฉมการเสนอขายแบบธรรมดาสู่การท้าทายให้ “ซื้อ”

รู้จัก Gamification Marketing

Gamification Marketing คือการนำองค์ประกอบของเกม (Game element) มาใช้ในการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการขายและการมีส่วนร่วมระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการนับคะแนน การเลื่อนขั้น (Level) การมอบหมายภารกิจ การนำเสนอข้อมูลแบบหมุดหมาย (Milestone) การจับเวลานับถอยหลัง หรือการมอบรางวัลเมื่อบรรลุเป้าหมาย โดยกิจกรรมนั้น ๆ จะต้องมีเป้าหมายและวิธีการบรรลุเป้าหมายให้เห็นอย่างชัดเจน รวมถึงการวัดและประเมินความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าการกระทำของตนไม่สูญเปล่า

ทำไมต้อง Gamification Marketing

เพราะมนุษย์ต่างต้องการชีวิตที่มีสีสันและการประสบความสำเร็จ ...แน่นอนว่าลูกค้าเองก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นเดียวกัน และไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัย “เกม” ก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสร้างความรู้สึกเหล่านั้น

ด้วยเหตุนี้กลยุทธ์การตลาด “Gamification Marketing” จึงมีส่วนช่วยเปลี่ยนการซื้อสินค้าให้ดูเป็นเรื่องของการกระทำเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายและความน่าตื่นเต้นมากกว่าจะที่จะเป็นเรื่องเงินทอง และดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

ใช้กลยุทธ์ Gamification Marketing อย่างไร

แน่นอนว่าแต่ละแบรนด์มีวิธีการใช้กลยุทธ์ Gamification Marketing ในรูปแบบที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมของสินค้าหรือบริการ โดยแบรนด์ด้านอีคอมเมิร์ซอาจใช้การนำเสนอข้อมูลแบบหมุดหมายเพื่อสร้างเป้าหมายให้กับลูกค้า เช่น การนำเสนอจำนวนครั้งที่ลูกค้าซื้อสินค้าเทียบกับจำนวนสินค้าที่ต้องซื้อเพื่อให้ได้รางวัลพิเศษหรือส่วนลด ขณะที่แบรนด์เกี่ยวกับอุปกรณ์กีฬาอาจมอบภารกิจนับก้าวเดินแบบจำกัดระยะเวลาให้กับลูกค้า เพื่อแลกกับคะแนนสะสมที่สามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าได้


นอกจากนี้ แบรนด์ยังสามารถใช้กลยุทธ์ Gamification Marketing เพื่อช่วยให้การเก็บข้อมูลของลูกค้าง่ายขึ้นด้วยการเปลี่ยนแบบสอบถามที่ดูน่าเบื่อให้กลายเป็นเกมตอบคำถามชิงรางวัลแสนสนุก หรือส่งเสริมการรับรู้แบรนด์ด้วยให้ลูกค้าแชร์พร้อมติดแฮชแท็กเพื่อลุ้นสิทธิพิเศษต่าง ๆ ได้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่า Gamification Marketing เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สามารถพลิกแพลงได้อย่างหลากหลาย ทั้งยังช่วยกระตุ้นการซื้อได้อย่างสนุกสนานอีกด้วย

Author picture

By Tanupat Piyarat , Sunita Phanraksa

ข่าวล่าสุด

ทำความรู้จัก “UGC” จะดีแค่ไหนถ้า “ลูกค้า” โฆษณากันเอง

UGC หรือ User-Generated Content คือ คอนเทนต์ทุกรูปแบบที่ผู้บริโภคเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง และยังมีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไม่ว่าจะคอนเทนต์นั้น ๆ จะปรากฎออกมาในรูปรูปแบบของข้อความบนโซเชียลมีเดีย…

Read More »

เปิดมุมมอง 7 กูรู ดูโอกาสและอุปสรรคสื่อไทยปี 2568

สื่อไทยยังคงมีโอกาสเติบโตท่ามกลางการแข่งขันกับกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ กุญแจสู่ความสำเร็จคือการปรับการผลิตคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและอัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม ซึ่งจะนำไปสู่โมเดลธุ…

Read More »

กลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ปัง! กับ 3 ผู้เชี่ยวชาญวงการเล่าเรื่องแบรนด์

การสร้างคอนเทนต์ที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการรักษาสมดุลระหว่างองค์ประกอบสามด้าน ได้แก่ ผู้ชม แบรนด์ และผู้สร้างคอนเทนต์โดยต้องค้นหาจุดร่วม (Common Value)

Read More »

5 วิธีปรับใช้ Micro-Content สำหรับแบรนด์

Micro-Content เป็นกลยุทธ์การทำคอนเทนต์แบบสั้น โดยย่อยประเด็นออกมาให้กระชับ เข้าใจง่าย เพื่อดึงความสนใจจากลูกค้าบนโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียในช่วงสั้น ๆ เหมาะกับการนำมาใช้ในแคมเปญการตลาด

Read More »

กลยุทธ์ทำ SEO วิดีโอ ให้ติดอันดับ Google ปี 2024

ทราฟฟิกบนอินเทอร์เน็ตกว่า 80% มาจากคอนเทนต์วิดีโอ ทำให้การทำ SEO สำหรับวิดีโอกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในปัจจุบัน

Read More »

อนาคตวงการครีเอเตอร์ไทยในปี 2035: บทวิเคราะห์จากงานวิจัย FORESIGHT STUDY

ผลการศึกษาของ Tellscore และ FutureTales LAB by MQDC ในงาน THAILAND INFLUENCER AWARDS เผยภาพอนาคตวงการครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ไทยใน 6 มิติสำคัญ

Read More »