“ขจร” RAiNMaker เปิดตำราสอนครีเอเตอร์ เอาใจ AI ยังไงให้ช่องเติบโต

Phot Credit: CTC2024

คอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) นับเป็นหนึ่งในอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างมากและมีความเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย (Social Media) อย่างใกล้ชิด เพราะเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ที่สำคัญ นอกจากนี้ อาชีพนี้ยังเป็นเทรนด์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่การที่จะโลดแล่นให้ได้ในวงการ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอัลกอริทึมและบทบาทของเอไอ (AI)

คุณขจร เจียรนัยพานิชย์ Editor in Chief, RAiNMaker และผู้จัดงาน iCreator Conference ได้มาไขคำตอบว่า เราจะเอาใจเอไอ พัฒนาคอนเทนต์และช่องอย่างไรให้เติบโตที่งาน CREATIVE TALK Conference 2024 ในหัวข้อ “Social Media Algorithm & Creator Landscape 2024-2025”

คุณขจรได้กล่าวถึงภาพรวมของวงการครีเอเตอร์ในปี 2024 ว่า เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้มีการปรับเปลี่ยน ขณะที่ความสนใจของผู้ใช้งานก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

จากสถิติในปีนี้พบว่า TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอที่ได้รับความนิยมสูงสุด แซงหน้า YouTube ซึ่งครองแชมป์ในปีที่แล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องดิ้นรนและปรับตัว เพื่อเอาชนะอุปสรรคและความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

บก.บห.ของ RAiNMaker เปิดเผยว่า ประเภทของคอนเทนต์ที่เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไทยนิยมสร้างสรรค์นั้น มีทั้งหมวดเกมส์และอี-สปอร์ต (E-Sport) แฟชั่นและความงาม วีทูบเบอร์ (VTuber) อาหารการกิน ท่องเที่ยว รวมถึงการเงินและการลงทุน ในขณะที่หมวดคอนเทนต์อย่างรถยนต์ แม่และเด็ก สัตว์เลี้ยง และผู้สูงอายุ ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่มีเม็ดเงินในตลาดสูง ซึ่งถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจสำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์หน้าใหม่

Photo Credit: CTC2024

อย่างไรก็ตาม การจะประกอบอาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์เป็นอาชีพหลักนั้น จำเป็นต้องมีฐานผู้ติดตามที่แข็งแกร่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะต้องมีผู้ติดตามตั้งแต่ 500,000 คน ถึง 1 ล้านคนขึ้นไป จึงจะสามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอได้อย่างมั่นคง รวมถึงต้องศึกษาเรียนรู้กลไกของอัลกอริทึมและเอไอ (AI) ของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เพราะหากไม่เข้าใจแล้วก็เหมือนกับการเดินวนอยู่ในเขาวงกตที่หาทางออกไม่เจอเสียที

AI ครองโลก: อัลกอริทึมควบคุมคอนเทนต์

เมื่อเอไอเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น คุณขจรเสนอแนวคิดว่าให้ลองเปลี่ยมุมมองจากที่ว่าวันนี้เราเปิดหน้าไทม์ไลน์ไปจะเจอคอนเทนต์อะไร ให้ลองคิดว่าวันนี้ เอไอจะส่งอะไรขึ้นหน้าฟีดให้เราดูแทน โดยคุณขจรได้แบ่งกลไกของอัลกอริทึมออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. Social Media Algorithm:

พบได้ใน Facebook, Instagram, Linkedin และ LineVoom การแชร์และการกระจายข้อมูลในโซเชียลมีเดียกลุ่มนี้จะมีกุญแจหลักมาจากคนหรือผู้ใช้งาน ประมาณ 85% ของข้อมูลจะมาจากการกดติดตามผู้อื่น ในขณะที่เอไอจะมีบทบาทเพียง 15% เท่านั้น ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์ Echo Chamber ดังนั้น ผู้ใช้จะเห็นเพียงแค่คอนเทนต์ที่ตนเองคล้อยตามหรือเห็นด้วยเท่านั้น ก่อให้เกิดการแบ่งขั้วทางความคิดเป็น 2 ฝั่งตรงข้ามกัน จนกลายเป็นปัญหาทางสังคม โดยเฉพาะในประเด็นการเมือง

2. Recommendation Media Algorithm:

พบได้ใน YouTube, Twitter และ TikTok ในกลุ่มนี้ เอไอมีบทบาทหลักในการคัดสรรและกระจายข้อมูล ส่วนหน้าที่ของผู้ใช้งานคือการรับชมคอนเทนต์เท่านั้น เช่น YouTube ที่จะแสดงคอนเทนต์ที่ได้รับการแนะนำจากเอไอถึง 50% ซึ่งจะมาจากช่องที่เราไม่ได้กดติดตาม หรือ TikTok ที่จะมีคอนเทนต์ที่มาจากการแนะนำของเอไอถึง 85% บนหน้า For You Page

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มใด เอไอเข้ามามีบทบาทเข้ามาควบคุมการใช้งาน เพราะฉะนั้น คุณขจรจึงอธิบายหลักการทำงานของอัลกอริทึมของเอไอบนโซเชียลมีเดีย (Social Media AI) ที่จะมุ่งเน้นไปที่ 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1. โครงสร้างของคอนเทนต์ (Content Structure):

เอไอของอัลกอริทึมจะจับรายละเอียดทุกอย่างในคอนเทนต์ เพื่อใช้ในการค้นหาและจัดหมวดหมู่คอนเทนต์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่แปลงเป็นข้อความ แคปชั่นของโพสต์ แฮชแท็กต่างๆ ความยาวของคลิปวิดีโอ หรือเพลงประกอบ ซึ่งจะนำพาผู้ใช้งานไปหาคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

2. โครงสร้างของช่อง (Channel Structure):

เอไอของอัลกอริทึมจะส่งคอนเทนต์แบบสุ่มมาให้ผู้ใช้งานดูก่อน เมื่อผู้ใช้งานแสดงให้เห็นว่าชอบช่องหรือคอนเทนต์ประเภทใด เอไอก็จะค้นหาช่องและคอนเทนต์ในรูปแบบเดียวกันมานำเสนอต่อไปอย่างเจาะจงมากยิ่งขึ้น ซึ่งโครงสร้างของช่องมีตั้งแต่ระดับกว้าง (Mass) สำหรับคอนเทนต์ทั่วไป เช่น สำนักข่าว ฯ ระดับกลาง (Mid-Level) สำหรับคอนเทนต์เฉพาะด้าน เช่น RAiNMaker ไปจนถึงระดับแคบ (Niche) ที่มุ่งเน้นเฉพาะกลุ่ม เช่น MacThai ที่มีข้อมูลข่าวสารของแบรนด์ Apple โดยเฉพาะ

ดังนั้น นอกจากการวางแผนผลิตคอนเทนต์แล้ว ควรคำนึงถึงโครงสร้างของคอนเทนต์และโครงสร้างของช่องตนเองด้วย เพื่อให้เอไอสามารถจับกลุ่มคอนเทนต์ได้อย่างถูกต้อง และนำไปสู่การนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงใจผู้ชม

5 ปัจจัยที่ AI จับตา

นอกเหนือจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยในการนำเสนอคอนเทนต์อีกมากมายที่ AI คอยจับจ้องเราอยู่ ซึ่งคุณขจร ได้สรุปออกมาเป็น 5 ปัจจัย ดังนี้

1) Interest and Engagement: ความสนใจและการมีส่วนร่วม ทั้งการกดไลค์ หรือการแสดงความคิดเห็นจากผู้ติดตาม

2) Type of Content: รูปแบบคอนเทนต์ ซึ่งรูปแบบที่จะได้รับความนิยมจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ภาพหรือวิดีโอ

3) Recency: ความสดใหม่และทันสมัยของคอนเทนต์ ซึ่งในแต่ละแพลตฟอร์มจะให้ความสำคัญมากน้อยแตกต่างกันไป

4) Past Performance: คุณภาพและผลตอบรับของคอนเทนต์ในอดีต หากเริ่มต้นดีแต่ผลงานก่อนหน้าไม่ดี ก็มีโอกาสที่จะได้รับการจัดอันดับต่ำ

5) Post Performance: ให้ความสำคัญกับทุกส่วนประกอบของแต่ละโพสต์ เช่น ความยาว คลิป เสียง คำพูด คำอธิบาย

ฮาวทู "จีบ AI"

อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่าอาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์มีแนวโน้มว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ของอัลกอริทึมในแต่ละแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อให้ “ถูกใจเอไอ” ถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างมาก โดยคุณขจรได้เปรียบเทียบและยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า ให้คิดว่า AI เป็นหญิงสาวคนหนึ่งที่เราอยากจะเข้าไปจีบ โดยที่ตัวเราเองจะต้องมีคุณสมบัติดึงดูดใจ AI ดังนี้

มีเสน่ห์: มีคอนเทนต์ที่น่าสนใจ สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ติดตามได้ดี

รักเดียวใจเดียว: ไม่เชื่อมโยงแพลตฟอร์มต้นทางไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ

เป็นคนชัดเจน: กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและโครงสร้างของช่องอย่างชัดเจน

ไม่โกหก: ปฏิบัติตามกฎระเบียบของแพลตฟอร์มอย่างเคร่งครัด ไม่ละเมิดกฎเกณฑ์ใด ๆ

สม่ำเสมอ: มีความสม่ำเสมอในการนำเสนอคอนเทนต์ รักษามาตรฐานและคุณภาพของคอนเทนต์ให้คงที่

สุดท้ายนี้ แม้ว่าเทคโนโลยีจะช่วยอำนวยความสะดวกในทุกด้านไม่ได้ แต่การทำความเข้าใจและการสร้างความผูกพันกับผู้ชม รวมทั้งการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดีและมีคุณภาพ ก็เป็นอีกหัวใจสำคัญที่จะการันตีความสำเร็จในระยะยาว

Author picture

By Piyatida Treesuwan, Sunita Phanraksa

ข่าวล่าสุด

“ขจร” RAiNMaker เปิดตำราสอนครีเอเตอร์ เอาใจ AI ยังไงให้ช่องเติบโต

ภาพรวมของวงการครีเอเตอร์ในปี 2024 ว่า เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากอัลกอริทึมของ Social Media Platform ต่าง ๆ ได้มีการปรับเปลี่ยน ขณะที่ความสนใจของผู้ใช้งานก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย…

Read More »

เจาะลึก 8 แนวโน้มการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ไทยปี 68 จาก “คุณปู สุวิตา” Tellscore

ส่อง 8 แนวโน้มการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ปี 2568 กับ “คุณปู” สุวิตา จรัญวงศ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเทลสกอร์ (Tellscore) บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มบริหารจัดการอินฟลูเอนเซอร์ ในงาน CREATIVE TALK…

Read More »

เทรนด์จักรวาล Martech ไทยปี 2025 เทคโนฯใหม่มา!แต่เทคโนฯเก่ายังไม่เอาท์

Martech ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่กลายเป็นปัจจัยสำคัญ จนเกิดเครื่องมือ Martech ขึ้นมากมาย และ”จักรวาล Martech” ในที่สุด โดยภายในงาน CREATIVE TALK Conference 2024 คุณแบงค์ สิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์…

Read More »

3 ผู้บริหารสื่อชื่อดังเผยอนาคตสื่อต้องมีโมเดลธุรกิจชัดเจน-สร้างคอมมูนิตี้

สำรวจทิศทางและอนาคตสื่อออนไลน์จาก 3 ผู้บริหารสื่อชื่อดังอย่าง “แบไต๋” “ไทยรัฐออนไลน์” และ”เดอะ สแตนดาร์ด” ในงาน CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 ภายใต้หัวข้อ “The Future of Media”

Read More »

สวนกระแสความจำเจด้วยการตลาดแบบ Disruptive Marketing

Disruptive ถ้าแปลตรงตัวแล้วอาจหมายถึง การทำให้บางสิ่งหยุดชะงักไป แต่ในแง่ของการตลาดนั้น Disruptive Marketing ถือเป็นกลยุทธ์ที่สามารถ “พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส”

Read More »

รู้ใจลูกค้าแบบขั้นสุดด้วยกลยุทธ์ Hyper-personalization

Hyper-personalization คือ กลยุทธ์การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วย AI, อัลกอริทึม และข้อมูลจำนวนมหาศาลแบบเรียลไทม์ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ปรับมาให้ตรงใจลูกค้าแต่ละราย จึงแตกต่างจากกลยุทธ์ Personalization…

Read More »